1. โครงการพัฒนาบุคลากรสำคัญๆ ที่บุคลากรมหาวิทยาลัยต้องเข้าร่วมมีโครงการอะไรบ้าง?
- โครงการ On-Boarding สำหรับพนักงานบรรจุใหม่ ทั้งสายวิชาการ และสายวิชาชีพอื่นๆ ที่ต้องเข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะสายวิชาชีพอื่นๆ จะต้องนำผลการเข้าร่วมไปใช้ประกอบการเลื่อนระดับตามเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)
- โครงการพัฒนาพนักงานใหม่สายวิชาการด้านการเรียนการสอน ระดับ Beginner สำหรับพนักงานบรรจุใหม่สายวิชาการ ที่ต้องเข้าร่วมโครงการเพื่อนำผลการเข้าร่วมไปใช้ประกอบการต่อสัญญาจ้างพนักงานในระดับถัดไป
- โครงการพัฒนาบุคลากรตามแผนเส้นทางการพัฒนาบุคลากร (Training Roadmap) ระดับต้น 1 ระดับต้น 2 และ ระดับต้น 3 สำหรับพนักงานสายวิชาชีพอื่นๆ (สว – จ – พ) ที่ต้องเข้าร่วมโครงการตามระดับของตนเองเพื่อนำผลการเข้าร่วมไปใช้ประกอบการเลื่อนระดับตามเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)
- การทดสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษของพนักงานสายวิชาชีพอื่นๆ เพื่อนำผลการเข้าร่วมไปใช้ประกอบการเลื่อนระดับตามเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)
- การทดสอบวัดระดับทักษะคอมพิวเตอร์ของพนักงานสายวิชาชีพอื่นๆ เพื่อนำผลการเข้าร่วมไปใช้ประกอบการเลื่อนระดับตามเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)
2. กรณีหัวหน้าประเมินว่าพนักงานยังไม่แสดงออกถึงระดับสมรรถนะที่คาดหวังตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะสามารถตกลงกันเพื่อลดระดับสมรรถนะที่คาดหวังให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้หรือไม่?
ไม่สามารถลดระดับของสมรรถนะที่คาดหวังให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด เนื่องจากระดับความคาดหวังที่มหาวิทยาลัยกำหนด เป็นความคาดหวังขั้นต่ำที่บุคลากรรต้องมีในระดับของตน และเป็นการประเมินสมรรถนะเพื่อใช้ในการพัฒนา โดยหัวหน้าควรพูดคุยและทำความเข้าใจถึงภาระงาน และกำหนดหัวข้อสมรรถนะที่สนับสนุนภาระงานนั้น ๆ รวมถึงการติดตาม และให้คำแนะนำพนักงานเป็นระยะๆ รวมถึงส่งบุคลากรไปพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถแสดงออกถึงระดับที่คาดหวังขั้นต่ำตามที่กำหนด
3. คำว่า Team (ทีม) หมายถึงอะไร?
Team (ทีม) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ต้องประสานงาน ช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายทั้งงานของตนเองและผู้อื่น ซึ่งไม่จำเป็นว่างานนั้นต้องเป็นงานที่ถูกมอบหมายจากการแต่งตั้ง หรือจากหัวหน้า ให้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) เป็นหน้าที่ของใคร?
หัวหน้าและลูกน้อง มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแผนพัฒนาร่วมกัน โดยพิจารณาทั้งในด้านความต้องการในการเติบโตในอาชีพ (Career) และวิสัยทัศน์ขององค์กร จากนั้นหารือเพื่อระบุเป้าหมายของการพัฒนา เครื่องมือ และวิธีการที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล รวมถึงกำหนดกรอบระยะเวลาในการพัฒนา โดยกำหนดจำนวนสมรรถนะในแผนการพัฒนาประมาณ 1- 2 ตัวต่อปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
5. การจัดการความรู้ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องอะไร?
เมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน เราสามารถนำข้อมูลที่เคยรวบรวมและจัดเก็บไว้ของปัญหานั้นๆ(กระบวนการหนึ่งของการจัดการความรู้) มาช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ปัญหาถูกแก้ไขอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างยั่งยืน
6. กระบวนการทาง “การจัดการความรู้” มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?
มีทั้งหมด 5 ขั้น ดังนี้
- ขั้นการบ่งชี้ จากปัญหาที่หลากหลายให้นำมา Grouping เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและต้นตอของปัญหาที่แท้จริง
- ขั้นการสร้างองค์ความรู้ ระดมทีมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษา และหาคำตอบเพื่อหาวิธีแก้ไขที่ตรงจุด
- ขั้นการรวบรวมและจัดเก็บ นำวิธีการแก้ไขปัญหามาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้ง่ายในการค้นหาและนำมาใช้ในครั้งต่อไป
- ขั้นการทำให้เข้าถึงได้ จัดทำประชาสัมพันธ์และสื่อสาร เผยแพร่วิธีแก้ปัญหานั้นๆ
- ขั้นการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหากับบุคคลอื่นๆ รูปแบบการแก้ปัญหาอื่นๆ จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหานั้นๆ
7. ข้อมูลการพัฒนาบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการขอยื่นเลื่อนระดับพนักงานสายวิชาชีพอื่นๆ ประกอบด้วย
- ข้อมูลพัฒนาบุคลากรตาม TRM (ระดับต้น 1-2-3)
- ข้อมูลการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ
- ข้อมูลการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์
8. การทดสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษของบุคลากรจัดทดสอบช่วงใดของทุกปี?
จัดทดสอบ ครั้งที่ 1 เดือนพฤษภาคม และ ครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
9. การอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ จัดอบรมในช่วงใดบ้าง?
จัดอบรม
- ครั้งที่ 1 เดือนตุลาคม – ธันวาคม ของทุกปี
- ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี
- ครั้งที่ 3 เดือนมิถุนายน – สิงหาคม ของทุกปี
10. การทดสอบวัดระดับสมรรถนะคอมพิวเตอร์ของบุคลากรจัดทดสอบช่วงใดของทุกปี?
จัดทดสอบ ครั้งที่ 1 เดือนมิถุนายน และ ครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม ของทุกปี
11. การอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ จัดอบรมในช่วงใดบ้าง?
จัดอบรม
- ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ของทุกปี
12. KMUTT Professional Standard Framework (PSF) - Learning and Teaching คืออะไร และมีกี่ระดับผู้สอน?
KMUTT PSF – Learning and Teaching คือ กรอบมาตรฐานวิชาชีพของอาจารย์ผู้สอน มีทั้งหมด 4 ระดับ เรียงตามลำดับดับดังนี้ 1) Beginner 2) Competent 3) Proficient 4) Mastery
13. มหาวิทยาลัยได้สร้างกรอบมาตรฐานวิชาชีพของอาจารย์ผู้สอนไว้ (KMUTT PSF - Learning and Teaching) เพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนการพัฒนาการสอนของอาจารย์ทุกระดับโดยใช้เกณฑ์อะไรในการบอกระดับความสามารถของอาจารย์?
เกณฑ์ที่ใช้บอกระดับความสามารถของอาจารย์ประกอบไปด้วย 3 โดเมน คือ
- Knowledge คือ ผู้สอนเข้าใจวิธีการคิด การเรียนรู้ของผู้เรียน มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน เครื่องมือที่ใช้ การพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสทิธิภาพ
- Areas of activity คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียน กระตุ้นการเรียนรู้ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้
- Values คือ การแสดงความเข้าใจ ความเอาใจใส่ต่อผู้เรียน การในคำปรึกษา การประเมินการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมกับเพื่อนร่วมงาน
14. เหตุใดพนักงานใหม่สายวิชาการที่มีภารกิจด้านการเรียนการสอน ทุกคนถึงต้องเข้าอบรมโครงการพัฒนาพนักงานใหม่สายวิชาการด้านการเรียนการสอน ระดับ Beginner?
เพื่อพัฒนาพนักงานใหม่สายวิชาการให้มีสมรรถนะเบื้องต้นของผู้สอนตามกรอบ KMUTT PSF ในมิติของการเรียนรู้หลักการที่จะเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบแผน การสอนที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา และการบริหารจัดการชั้นเรียนเบื้องต้น รวมทั้งวัดประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
15. การขออนุมัติเดินทางไปฝึกอบรม ดูงาน ปฏิบัติการวิจัย และประชุม สัมมนา ณ ต่างประเทศ ต้องใช้เอกสารประกอบการพิจารณาอะไรบ้าง?
เอกสารประกอบการพิจารณา | ประชุม/
สัมมนา |
ดูงาน/ เจรจา ความร่วมมือ |
ฝึกอบรม | ปฏิบัติ
การวิจัย |
เสนอผลงาน
ทางวิชาการ |
อื่นๆ |
1. หนังสือเชิญจากหน่วยงานภายนอก | ü | ü | ü | ü | ||
2. หนังสือตอบรับจากหน่วยงานภายนอก (Invitation Letter) | ü | ü | ü | |||
3. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม (ถ้ามี) | ü | ü | ü | ü | ü | |
4. กำหนดการ (agenda) | ü | ü | ü | ü | ü | |
5. ผลงานที่มีชื่อของผู้ขออนุมัติ (paper/abstract) | ü | |||||
6. รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานภายในและภายนอกสนับสนุน | ü | ü | ü | ü | ü | ü |
7. ใบขออนุมัติโครงการศึกษาดูงานต่างประเทศและงบประมาณ จากสำนักงานยุทธศาสตร์ | ü | |||||
8. แบบฟอร์มรายละเอียดการได้รับทุน (กรณีเดินทางเกิน 30 วัน) | ü | ü | ||||
9. เหตุผลความจำเป็นและการมอบหมายภาระงาน (กรณีเดินทางเกิน 30 วัน) | ü | ü |
16. หากเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัย สามารถขอทำหนังสือเดินทางราชการได้หรือไม่?
ลูกจ้างมหาวิทยาลัยไม่สามารถทำหนังสือเดินทางราชการได้ หนังสือเดินทางราชการจะออกให้กับข้าราชการ และพนักงาน โดยจะต้องเตรียมเอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางราชการ ดังนี้
- สำเนาหนังสือขออนุมัติตัวบุคคลจากมหาวิทยาลัยฯ
- หนังสือนำจากมหาวิทยาลัยฯ เรียนปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (สพบ.จัดเตรียมให้)
- สำเนาบัตรพนักงาน/ข้าราชการ พร้อมตัวจริง
- หนังสือเดินทางราชการฉบับเดิมกรณีหมดอายุ (ถ้ามี) เพื่อนำไปยกเลิก
- สำเนาสัญญาจ้าง กรณีพนักงานมหาวิทยาลัย
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
17. ลูกจ้างมหาวิทยาลัยสามารถลาศึกษาต่อได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร?
บุคลากรประเภทลูกจ้างมหาวิทยาลัย สามารถลาศึกษาได้เฉพาะหลักสูตรนอกเวลาปฏิบัติงาน โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม “ขออนุญาตไปสมัครสอบ”เพื่อกรอกและส่งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลตรวจสอบคุณสมบัติ และเมื่อผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว จึงดาวน์โหลดแบบฟอร์ม “ขอลาศึกษาหลักสูตรนอกเวลาปฏิบัติงาน” มากรอกพร้อมแนบหลักฐานตามที่ระบุส่งมายังสำนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการเสนอเรื่องให้อธิการบดีทราบต่อไป
18. กรณีการลาศึกษาโดยใช้เวลาปฏิบัติงานเพียงบางส่วน (10 ชั่วโมง/สัปดาห์) จะต้องทำสัญญากับนิติกรหรือไม่ และคิดคำนวณการปฏิบัติงานชดใช้อย่างไร?
ต้องทำสัญญา และคิดคำนวณจากการนับชั่วโมงทั้งหมดที่ลาไปศึกษาออกมาเป็นจำนวนวันที่ชดใช้
- นับจำนวนวันที่ต้องกลับมาปฏิบัติงานเป็นจำนวน 1 เท่า กรณีใช้ทุนที่บุคคล นิติบุคคล หรือรัฐบาล ให้แก่ผู้ไปศึกษาโดยตรง หรือ ทุนส่วนตัว
- นับจำนวนวันที่ต้องกลับมาปฏิบัติงานเป็นจำนวน 2 เท่า หากใช้ทุนที่มหาวิทยาลัยจัดหาให้ หรือ ทุนที่บุคคล นิติบุคคล หรือรัฐบาลให้แก่มหาวิทยาลัย
19. โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) มีวัตถุประสงค์อย่างไร และหากเข้าร่วมจะได้รับประโยชน์อย่างไร?
โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการด้านบริหาร และพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ โดยเน้นให้เข้าใจสมรรถนะความเป็นผู้นำ 5 ด้าน คือ
- Strategic & Visionary Thinking
- Problem Solving & Decision Making
- Driving for Results
- Communication
- Develop Self & Others
20. โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) ของมหาวิทยาลัยมีทั้งหมดกี่ระดับ?
แบ่งเป็น 5 ระดับ ตามแผนภาพ ดังนี้